วันจันทร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2560

จริยธรรมการใช้อินเทอร์เน็ต

จริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต

        จริยธรรม หมายถึง หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้
เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ซึ่งเมื่อพิจารณาจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์แล้ว

ผลดี

1).ทำให้มีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารในเครื่อข่ายขนาดใหญ่
2).ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน
3).ช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษา  ทำให้เกิดการศึกษารูปแบบใหม่ที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนให้เกิดความสนุกในการเรียนรู้  อีกทั้งทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา
4).ทำให้เกิดความบันเทิง เช่น ฟังเพลง
5).ติดตามความเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว

ผลเสีย

1).ก่อให้เกิดความเครียดในสังคม เช่นการแข่งขันด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว
2).เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจากสังคมหนึ่งอีกสังคมหนึ่งไม่เหมาะสม
3).เกิดช่องว่างระหว่างคนในสังคม
4).เกิดการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เช่นการนำข้อมูลส่วนบุคคลออกมาเผยแพร่ต่อสาธารณชน

ตัวอย่างข่าว

1).การนำภาพหลุดคนอื่นมาโพสต์ลงเฟส
2).การแฮกเฟสคนอื่นแล้วนำข้อมูลมาเผยแพร่สาธารณะ
3).หนุ่มภูเก็ตไลฟ์สดผูกคอตายประชดเมีย

วันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2560

ไวรัสคอมพิวเตอร์

  ไวรัสคอมพิวเตอร์

                 คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์โปรแกรมหนึ่งที่มีผู้เขียนขึ้นมา โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจน คือสร้างความเสียหายให้กับคอมพิวเตอร์ มีลักษณะคล้ายเชื้อโรคขนาดเล็ก ซึ่งถ้าไวรัสมันได้เข้าไปอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว มันจะทำงานด้วยตัวของมันเอง และจะก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เช่น ขัดขวางการอ่านข้อมูล ขัดขวางการเข้าถึงข้อมูลในหน่วยความจำ ขัดขวางการทำงานของอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ และที่สร้างความเสียหายอย่างมากที่สุด คือ การเข้าไปทำลายแฟ้มข้อมูลหรือเข้าไปทำลายระบบต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ จนบางครั้งไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป การทำงานของไวรัสแต่ละตัวจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้เขียนโปรแกรมนั้น

ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์

     1. บู๊ตเซกเตอร์ไวรัส (Boot Sector Viruses หรือ Boot Infector Viruses) คือไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในบู๊ตเซกเตอร์ของฮาร์ดดิสก์ การทำงานของบู๊ตเซกเตอร์ไวรัส บู๊ตเซ็กเตอร์ไวรัสจะทำงานได้ก็ต่อเมื่อเราเสียบแผ่นดิสก์เก็ตคาไว้ที่ไดร พอเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมาเครื่องจะบู๊ตข้อมูลจากแผ่นดิสก์ก่อน ถึงแม้ว่าแผนนี้จะเป็น Boot disk หรือไม่ก็ตาม แต่ถ้ามีไวรัสประเภทบู๊ตเซ็กเตอร์อยู่ก็จะสามารถส่งไวรัสเข้ามาเล่นงานเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราได้ทัน ไวรัสประเภทนี้บางตัวก็ไม่มีอันตราย แต่บางตัวก็มีอันตรายมากถึงขั้นทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์บู๊ตไม่ขึ้นเลยทีเดียว

     2.Program Viruses หรือ File Intector Viruses เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่งที่จะติดอยู่กับโปรแกรมการทำงานของไวรัส โดยทั่วไป คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัส ส่วนของไวรัสจะทำงานก่อนและจะถือโอกาสนี้ฝังตัวเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำทันทีแล้วจึงค่อยให้ โปรแกรมนั้นทำงานตามปกติต่อไป เมื่อไวรัสเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำแล้ว หลัง จากนี้ไปถ้ามีการเรียกโปรแกรมอื่น ๆ ขึ้นมาทำงานต่อ ตัวไวรัสก็จะสำเนาตัวเองเข้าไป ในโปรแกรมเหล่านี้ทันที เป็นการแพร่ระบาดต่อไป
-วิธีการแพร่ระบาดของโปรแกรม ไวรัสอีกแบบหนึ่งคือ เมื่อมีการเรียก
โปรแกรมที่มีไวรัสติดอยู่ ตัวไวรัสจะเข้าไปหาโปรแกรมอื่น ๆ ที่อยู่ในดิสก์เพื่อทำสำเนาตัวเองลงไปทันทีแล้วจึงค่อยให้โปรแกรมที่ถูกเรียก นั้นทำงานตามปกติต่อไป

   3.ม้าโทรจัน (Trojan Horse)เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็น โปรแกรมธรรมดาทั่ว ๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียกขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อ ถูกเรียกขึ้นมาแล้ว ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที ม้าโทรจันบางตัวถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้ง ชุด โดยคนเขียนจะทำการตั้งชื่อโปรแกรมพร้อมชื่อรุ่นและคำอธิบายการใช้งานที่ดูสมจริง เพื่อหลอกให้คนที่จะเรียกใช้ตายใจ

   4.Stealth Viruses เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการพรางตัวต่อการตรวจจับได้ เช่น ไฟล์อินเฟกเตอร์ ไวรัสประเภทที่ไปติดโปรแกรมใดแล้วจะทำให้ขนาดของ โปรแกรมนั้นใหญ่ขึ้น ถ้าโปรแกรมไวรัสนั้นเป็นแบบสทีลต์ไวรัส จะไม่สามารถตรวจดูขนาดที่แท้จริง ของโปรแกรมที่เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากตัว ไวรัสจะเข้าไปควบคุมดอส เมื่อมีการใช้คำสั่ง DIR หรือโปรแกรมใดก็ตามเพื่อตรวจดูขนาดของโปรแกรม ดอสก็จะแสดงขนาดเหมือนเดิม ทุกอย่างราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น

   5.Polymorphic Viruses เป็นชื่อที่ใช้ในการเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการแปรเปลี่ยนตัวเอง ได้เมื่อมีสร้างสำเนาตัวเองเกิดขึ้น ซึ่งอาจได้หถึงหลายร้อยรูปแบบ ผลก็คือ ทำให้ไวรัสเหล่านี้ยากต่อการถูกตรวจจับ โดยโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใช้วิธีการสแกนอย่างเดียว ไวรัสใหม่ ๆ ในปัจจุบันที่มีความสามารถนี้เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ


บริการบนอินเทอร์เน็ต

บริการบนอินเตอร์เน็ต


 1.ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ Email


            ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นวิธีการติดต่อสื่อสารที่เกิดจากการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้วิธีหนึ่ง ซึ่งนอกจากจะมีข้อดีแล้วยังมีข้อจำกัดบางอย่างที่ควรศึกษาก่อน การใช้งาน เพื่อให้สามารถตัดสินใจและใช้งาน-เว็บเมล์ web mail คือเว็บแอปพลิเคชันที่ให้บริการอีเมลผ่านเว็บไซต์-ป็อปเมล์ POP mail การ "POP Mail" คือ การดูดข้อมูลอีเมล์ทั้งหมด รวมถึงไฟล์แนบต่างๆ (ถ้ามีในอีเมล์) จาก "Mail Server" ลงไปใน Harddisk ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง ซึ่งเป็นรูปแบบการทำงานพื้นฐานของโปรแกรม Outlook หรือ Thunderbird และโปรแกรมเช็คอีเมล์ต่างๆ

 2.โอนย้ายแฟ้มข้อมูล FTP


      FTP เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับ upload/download หรือดูโครงสร้างของไฟล์และ directory ใน Server FTP (File Transfer Protocol) เป็นมาตรฐานในการถ่ายโอนไฟล์ และเป็นส่วนหนึ่งของชุดโปรโตคอล TCP/IP มีประโยชน์มากสำหรับการรับส่งไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องลูก (FTP Client) กับเครื่องที่เป็นเครื่องให้บริการ (FTP Server) โดยเครื่องFTP Client อาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันทั่วไป ส่วนเครื่อง FTP Server ก็อาจจะเป็นเครื่อง PC ธรรมดาจนถึงเครื่องที่มีสมรรถภาพสูง(ต้นทางปลายทาง)

 3.การเปลี่ยนข่าวสาร


       การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น (internet forum) เป็นบริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าว  การอภิปรายและแสดงความคิดเห็นร่วมกันของผู้คนในสังคมผ่านอิเทอร์เน็gต  ซึ่งแนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ต  คือ  ใช้เป็นแหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างเครือข่ายทางสังคม  (social networkเทคโนโลยีการแลกเปลี่ยนข่าวสารมีหลากหลายรูปแบบ  เช่น  ยูสเน็ต  (Usenetบล็อก (blog)  เป็นต้น-Usenet ย่อมาจาก user network เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ใหญ่ เป็นตัวอำนวยความสะดวกในอินเทอร์เน็ต (internet) อีกทีหนึ่ง เป็นผู้จัดการเกี่ยวกับเรื่องข่าวสารต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะใช้กับระบบยูนิกซ์ (UNIX)
-Blog  คือเว็บไซด์รูปแบบหนึ่ง ที่มีลักษณะรูปร่างหน้าตาคล้ายๆกับการเขียนไดอารี่ หรือ บันทึกส่วนตัว ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากเราใช้ฟรี ไม่ต้องเสียเงิน

4.สนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต


  การสนทนาออนไลน์ หรือ Internet Relay Chat (IRC) หมายถึง โปรแกรมที่ถูกสร้างมาเพื่อการสนทนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยการพิมพ์ข้อความผ่านคีย์บอร์ดขึ้นสู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ซึ่งจะมีชื่อของผู้เล่นและข้อความแสดงขึ้นในหน้าต่างภายในจอคอมพิวเตอร์ของโปรแกรมสนทนา ให้คนอื่น ๆ ที่ร่วมสนทนาในห้องสนทนา (chat room) นั้น ๆ ได้เห็นว่า ผู้เล่นสนทนาคนอื่น ๆ สามารถเข้าสนทนาได้

     5.ค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต



          
         การนำความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต มาประยุกต์ใช้ในการศึกษาหาความรู้ ได้แก่ การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต โดยการใช้งานอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับการศึกษานี้จะสามารถแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ระดับดังนี้
1. การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
2. การนำข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมาใช้งาน
3. การสร้างแหล่งข้อมูลด้วยตนเอง

วันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2560

เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย

เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย

1.อินฟราเรด


     อินฟราเรด (Infrared) เป็นลักษณะของคลื่นที่ใช้ในการส่งข้อมูลระยะใกล้ๆ ในช่วงความถี่ที่แคบมาก ใช้ช่องทงสื่อสารน้อย มักใช้กับการสื่อสารข้อมูลที่ไม่มีสิ่งกีดขวางระหว่างตัวส่งกับตัวรับสัญญาณ โดยต้องใช้วิธีการสื่อสารตามแนวเส้นตรง ระยะทางไม่เกิน 1 – 2 เมตร ความเร็วประมาณ 4 -16 เมกกะบิตต่อนาที เช่น การส่งสัญญาณจากรีโมตคอนโทรลไปยังโทรทัศน์ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์สองเครื่องโดยผ่านพอร์ตไออาร์ดีเอ เป็นต้น

2.คลื่นวิทยุ


     คลื่นวิทยุ (radio frequency) ใช้ส่งสัญญาณไปในอากาศ โดยมีตัวกระจายสัญญาณส่งไปยังตัวรับสัญญาณ และใช้คลื่นวิทยุในช่วงความถี่ต่างๆ กัน มีความเร็วต่ำประมาณ 2 เมกกะบิตต่อนาที เช่น การสื่อสารในระบบวิทยุเอฟเอ็ม (Frequency Modulation : FM) เอเอ็ม (Amplitude Modulation : AM)  การสื่อสารโดยใช้ระบบไร้สาย และบลูทูท
3.ไมโคเวฟ

   ไมโครเวฟ (microwave) จะใช้การส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปในอากาศพร้อมกับข้อมูลที่ต้องการส่ง และต้องมีสถานีที่ทำหน้าที่ส่งและรับข้อมูล และเนื่องจากสัญญาณไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรงไม่สามารถเลี้ยวหรือโค้งตามขอบโลกได้ จึงต้องมีการตั้งสถานีรับ – ส่งข้อมูลเป็นระยะๆ และส่งข้อมูลต่อกันเป็นทอดๆ ระหว่างสถานีต่อสถานี จนกว่าจะถึงสถานีปลายทาง และแต่ละสถานีจะตั้งอยู่ในที่สูง เช่น ดาดฟ้าของตึกสูง ยอดเขา เป็นต้น เพื่อหลีกเลี่ยงการชนสิ่งกีดขวางในแนวการเดินทางของสัญญาณ เหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกล และทุรกันดาร

4.ดาวเทียม


 ดาวเทียม (satellite) เป็นสถานีรับส่งสัญญาณไมโครเวฟบนดาดฟ้า ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อหลีกเลียงข้อจำกัดของสถานีรับ – ส่งไมโครเวฟบนผิวโลก เพื่อใช้เป็นสถานีรับ – ส่ง สัญญาณไมโครเวฟบนอวกาศ และทวนสัญญาณในแนวโคจรของโลก ซึ่งจะต้องมีสถานีภาคพื้นดิน ทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณขึ้นไปบนดาวเทียมที่โคจรอยู่สูงจากพื้นโลก ทำให้การส่งสัญญาณไมโครเวฟจากสถานีหนึ่งขึ้นไปบนดาวเทียมและการกระจายสัญญาณจากดาวเทียมลงมายังสถานีตามจุดต่างๆ บนผิวโลกเป็นไปอย่างแม่นยำ

วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560

เครื่อข่ายคอมพิวเตอร์

z

เครื่อข่ายคอมพิวเตอร์

1.เครื่อข่ายส่วนบุคคล PAN

          

     Pan(Personal  Area  Network)เป็นเครือข่ายที่ใช้ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบไร้สายในระยะใกล้ เช่น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับเครื่องพีดีเอ เป็นต้น

2.เครือข่ายเฉพาะที่หรือแลน LAN
 

     LAN ย่อมาจาก Local Area Network คือระบบเครือข่าย แบบเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันในระยะจำกัด เช่น ในอาคารเดียวกัน หรือบริเวณเดียวกันที่สามารถลากสายถึงกันได้โดยตรง ส่วนมากจะใช้สายเคเบิ้ล หรือ ที่เรียกกันว่า สายแลน เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อ  

3.เครื่อข่ายนครหลวง MAN

   
    

     MAN(Metropolitan  Area Network) จะเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงแลนที่อยู่ห่างไกลกัน เช่นภายในมหาวิทยาลัยหรือในสถานศึกษาหนึ่งๆ จะมีระบบ MAN เพื่อเชื่อมต่อระบบ LAN ของแต่ละคณะวิชาเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียวกันในวงกว้าง โดยมีการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่มีระยะห่าง5-40กิโลเมตร ผ่านสายสื่อสาร

     4.เครือข่ายวงกว้าง WAN

          
        WAN(Wide  Area  Network) เป็นเครื่อยข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะห่างไกล มีการติดต่อสื่อสารกันในบริเวณกว้าง เช่น เชื่อมต่อระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ  เป็นต้น
    5.เครือข่ายทั่วโลก WWW



       
           WWW (World wide Web หรือ WWW) เรียกสั้น ๆ ว่า เว็บ (Web) เป็นรูปแบบหนึ่งของระบบ การเชื่อมโยงเครือข่ายข่าวสาร ใช้ในการค้นหาข้อมูลข่าวสารบนอินเทอร์เน็ต มีการเชื่อมโยงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลหนึ่งไปยังอีกแหล่งข้อมูลที่อยู่ห่างไกล เพื่อให้มีความง่ายต่อการใช้งานมากที่สุด